การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพ
หลักการและเหตุผล
การเสียชีวิตอย่างกะทันหันส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายนอกโรงพยาบาล จากสถิติพบว่า ในบรรดาผู้หมดสตินอกโรงพยาบาลมีเพียง 20% เท่านั้น ที่ได้รับการช่วยชีวิตโดยคนที่อยู่ใกล้ๆ ทั้งๆที่หากได้รับการช่วยชีวิตทันที จะเพิ่มความสำเร็จของการฟื้นคืนชีพได้ถึง 1 เท่าตัว และว่ามาตรฐานใหม่นี้เป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกปฏิบัติร่วมกันเพื่อใช้ช่วยชีวิต คนในเวลาฉุกเฉิน เป็นการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยมือเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีตัวอย่างจากทั่วโลก ที่คนหมดสติแล้วได้รับการกดลงที่หน้าอกเพื่อช่วยบีบเลือดที่หัวใจออกไป เลี้ยงร่างกายแล้ว ทำให้สามารถฟื้นคืนชีวิตกลับมาได้อย่างปกติ
การสอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)สามารถช่วยชีวิตผู้หมดสติที่เสียชีวิตกะทันหัน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยชีวิตผู้ที่จมน้ำ ถูกไฟฟ้าดูด ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับยาเกินขนาด เป็นการต่อชีวิตของผู้ป่วย เพื่อรอให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อไป จึงจำเป็นต้องเรียนรู้และหาวิธีการป้องกันเพื่อลดความสูญเสียค่าใช้จ่ายและบุคลากรให้กับองค์กรที่ได้รับผิดชอบอยู่
‘การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ’ ( FIRST AID & CPR ) จึงเป็นหลักสูตรที่ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในหลักการและวิธีการ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต ร่วมถึงการลดค่าใช้จ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลให้กับองค์กรของลูกค้าอีกด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการ วิธีการ ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกวิธี สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในการปฏิบัติงานจริงได้
หัวข้อในการอบรม
1. การประเมินผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ( Patient Assessment )
3. การสำลักและมีสิ่งของไปอุดหลอดลม (Anti Choking)
4. สัตว์กัด/โดนพิษสัตว์ทะเล
5 . กระดูกหักข้อเคลื่อนและการเข้าเฝือกชั่วคราว และการใช้เฝือกลม ( Bone Fracture & Stabilization)
6. การใช้อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น เปลตัก,การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บโดยการใช้ Long Spinal Board ,การใช้ KED
6. การยกและเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี ( Lifting & Moving )
7. ความหมายและความสำคัญของการทำการช่วยฟื้นคืนชีพแบบพื้นฐาน CPR : BLS และ การรู้จักเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติชนิดพกพา (AED)
8. สาธิตการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ ( Anti Choking) โดยฝึกกับชุดฝึกการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
8. สาธิตการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ ( Anti Choking) โดยฝึกกับชุดฝึกการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
สาธิต การช่วยฟื้นคืนชีพแบบพื้นฐาน โดยการใช้หุ่นฝึก CPR
9. ฝึกปฏิบัติการทำ CPR กับหุ่นที่มีสัญญาณไฟ(ทุกคน) ประเมินการฝึก CPR
10. ถาม-ตอบ เรื่อง CPR และสรุปการฝึกอบรม
10. ถาม-ตอบ เรื่อง CPR และสรุปการฝึกอบรม
วิธีการอบรม การบรรยาย ชมวีดิทัศน์ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ
เวลา
|
เรื่อง
|
9.00-10.00น.
|
บรรยายเรื่องการปฐมพยาบาล
· การประเมินผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน
· การดูแลบาดแผลและการห้ามเลือด
· กระดูกหักข้อเคลื่อน,การเข้าเฝือกชั่วคราว,การใช้เฝือกลมและการใช้ KED
·
|
10.00-11.45 น.
|
สาธิตวิธีการปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบทั้งใช้เครื่องมือและไม่ใช้เครื่องมือ
|
11.45-12.00 น.
|
สรุป และตอบข้อซักถาม
|
พักกลางวัน
13.00-13.30 น.
|
สอบถามความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ก่อนนำเข้าสู่เนื้อหา
|
13.30-14.15 น.
|
บรรยายการช่วยฟื้นคืนชีพแบบพื้นฐาน (CPR: BLS) ตามหลัก AHA 2010 โดยใช้หุ่น
จำลองที่สัญญาณไฟบนตัวหุ่น (ประเมินความถูกต้องของการกดนวดหัวใจได้)
(มีเอกสารเกี่ยวกับหุ่นแนบท้าย)
และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(AED) ชมวิดีทัศน์
|
14.15-14.45 น.
|
สาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยใช้หุ่นจำลองแบบมีสัญญาณไฟ
|
14.45-16.00 น.
|
ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) แบ่งออกเป็นกลุ่ม ฝึกปฏิบัติกับหุ่น และมีการประเมิน
ผลโดยใช้สัญญาณไฟบนตัวหุ่น
สรุปผล / ตอบข้อซักถาม
|
ผู้ติดต่อประสานงานการอบรม : คุณจุไรรัตน์ กิตติลักขณานนท์ 083-2264554 หรือ 089-8362966
E Mail : jitkuakul@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น